In Trend Library In The World

In Trend Library In The World

ทุกวันนี้ห้องสมุดได้มีการพัฒนาให้ทันสมัยให้มีบริการที่น่าสนใจ และตอบสนองแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทมากมายในสังคมเรารวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ๆทำให้บทบาทของห้องสมุดไม่เพียงแต่ให้บริการแค่หนังสือ แต่ยังสามารถให้บริการหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือที่หลายๆคนรู้จักในชื่อ e-book

1. Cloud Computing

ยุคนี้เป็นยุคที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายไร้สายเป็นสิ่งที่มีความสะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะผ่านการใช้เครื่องมือทางการสื่อสาร หรือจากอุปกรณ์อย่าง Tablet  เพราะสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ทุกที่ทุกเวลา และรูปแบบการบริการที่กำลังถูกกล่าวถึงอย่างมากนั่นก็คือ Cloud Service บริการนี้เกิดขึ้นเพื่อที่เวลามีข้อมูลที่จัดเก็บมีมากขึ้นและมีความต้องการที่จะถ่ายโอนไปยังเครื่องอื่นๆหรือผู้อื่น บริการ Cloud Service นี้จึงเป็นสิ่งที่มาช่วยให้สามารถนำข้อมูล หรือโปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ไปไว้ที่ Server ได้ เพียงแค่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็สามารถเข้าถึง และใช้บริการต่างๆ ได้

 cloud-computing-is-changing-business

2. Mobile Device

เป็น Trend ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง 5 ปี ในด้านนี้จะให้แนวคิดในด้านของการนำ Mobile Device มาประยุกต์ใช้กับงานบริการของห้องสมุด โดยอาจจะทำได้หลายวิธี แต่ก่อนอื่นนั้นจะต้องมีการทำการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ก่อนว่ามีการใช้บริการรูปแบบใดผ่านมือถือบ้าง

3. การออกแบบ

การออกแบบภายในและภายนอกนั้นก็เป็นจุดสำคัญที่สามารถดึงดูดผู้ใช้บริการ แน่นอนว่าการออกแบบนั้นต้องศึกษาผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นสำคัญ เพราะห้องสมุดที่มีการออกแบบที่น่าสนใจมักจะมีผู้เข้าใช้บริการมากเช่นกัน

ตัวอย่างห้องสมุดที่น่าสนใจ

ห้องสมุดเมือง Turku (Turku City Library) ประเทศฟินแลนด์

 

This slideshow requires JavaScript.

ที่มาภาพ : http://www.turku.fi/library

       ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางย่านเมืองเก่าของ Turku เป็นอาคารที่สร้างขึ้นต่อจากอาคารห้องสมุดเดิมที่ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2446 อาคารห้องสมุดแห่งใหม่เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2550 มีขนาดพื้นที่ราว 6,900 ตารางเมตร เพียบพร้อมไปด้วยทรัพยากรต่างๆ ดังเช่นห้องสมุดทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ไอแพด หนังสือ ดีวีดี ซีดี และนิตยสารต่างๆ แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ ห้องสมุดเมือง Turku จะจัดเรียงทรัพยากรต่างๆ แยกตามรายการหรือหัวเรื่องและวางทรัพยากรทุกประเภท (หนังสือ ซีดี ดีวีดี) ไว้ในที่เดียวกัน บรรณารักษ์ที่ดูแลทรัพยากรห้องสมุดด้านใดด้านหนึ่งก็จะเชี่ยวชาญเฉพาะหัวข้อนั้นๆ เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการยังสามารถตรวจสอบรายการหนังสือด้วยเครื่องมืออันทันสมัยได้ด้วยตนเอง

 

 

ห้องสมุดประชาชนซีแอทเทิล (Seattle Public Library) ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

 

This slideshow requires JavaScript.

ที่มาภาพ : http://phaidonatlas.com/building/seattle-central-library/563

http://architectuul.com/architecture/seattle-public-library

 

ห้องสมุดแห่งนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2547 เป็นอาคารที่มีการออกแบบภายในที่เน้นสีสันสร้างความสวยงาม และมีบรรยากาศที่เหมาะแก่การเรียนรู้ โครงสร้างของอาคารประกอบด้วยเหล็กและกระจกเป็นหลัก ภายในอาคารแบ่งเป็น 11 ชั้น ความสูงประมาณ 56 เมตร สถาปนิกเน้นออกแบบอาคารห้องสมุดแห่งนี้เพื่อให้สามารถรองรับหนังสือได้เป็นจำนวนมาก การตกแต่งภายในใช้วัสดุที่สามารถทดแทนได้และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Sustainable Materials) มีการวางระบบหมุนเวียนหนังสือด้วยเครื่องอ่านบาร์โคด เป็นเครื่องจักรจัดหนังสือขนาดใหญ่ ผนังภายนอกอาคารส่วนใหญ่ทำจาก Mesh Glass ที่ปกป้องความร้อนจากแสงธรรมชาติ โครงสร้างอาคารออกแบบพิเศษ เป็นระบบผสมทั้งโครงสร้างเสาคอนกรีตที่มีการหักมุม (Bended Column) และโครงถักเหล็ก (Steel Trusses) ที่รับน้ำหนักเฉพาะที่และมีขนาดไม่เท่ากัน โดยสามารถรับแรงกระทำด้านข้างจากแผ่นดินไหวได้ด้วย

แม้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกอาคารห้องสมุดจะมีรูปร่างแปลกประหลาด แต่ห้องสมุดออกแบบภายใต้แนวคิดให้ฟังก์ชันการใช้งานเป็นตัวกำหนดลักษณะโครงสร้าง ดังนั้น โครงสร้างทุกส่วนจึงถูกใช้สอยอย่างเต็มที่ตามความต้องการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ระบบการจัดหนังสือที่เป็นทางเดินเวียน (Spiral) โดยรูปแบบของตู้หนังสือใช้วิธีการนำพื้นที่ชั้นต่างๆ มาปรับให้เชื่อมต่อกันด้วยทางเดินเวียน ซึ่งกลายเป็นจุดเด่นอย่างน้อย 2 ประการ คือการออกแบบที่ไม่เหมือนใคร และมีความยืดหยุ่นในการลดหรือขยายหมวดหนังสือต่างๆ เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดของพื้นที่แต่ละชั้นอีกต่อไป

ห้องสมุดใช้ระบบ RFID ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นรายชื่อและจองหนังสือที่สนใจได้ด้วยตนเอง รวมถึงทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ และการบริการ podcast เป็นต้น

 

 

ห้องสมุดประชาชนอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam Public Library หรือ Openbare Bibliotheek Amsterdam) ประเทศเนเธอร์แลนด์

 

 

This slideshow requires JavaScript.

ที่มาภาพ : http://www.momondo.com  และ

https://www.behance.net/gallery/dutch-INTERIORS/683503

       ห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ Oosterdokseiland ห่างจากสถานีชุมทาง (Central Station) เพียง 5 นาที มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 28,000 ตารางเมตร ถือเป็นห้องประชาชนที่ใหญ่ที่สุดในเมืองอัมสเตอร์ดัมและเป็นห้องสมุดประชาชนที่มีขนาดใหญ่ติดอันดับต้นๆ ของสหภาพยุโรป เปิดให้บริการประชาชนตั้งแต่ปี 2550

อาคารห้องสมุดแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 7 ชั้น ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพทางนิเวศวิทยา และได้รับรางวัลอาคารสาธารณะที่ยั่งยืนที่สุดในอัมสเตอร์ดัม (Most Sustainable Public Building in Amsterdam) นอกจากการให้บริการในเชิงห้องสมุดแล้ว อาคารแห่งนี้ยังประกอบไปด้วย โรงภาพยนตร์ สถานี-วิทยุ ห้องจัดสัมมนา พื้นที่จัดนิทรรรศการ ส่วนการแสดงดนตรี ร้านกาแฟ และร้านอาหาร ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของเมือง นอกจากนี้ ห้องสมุดยังเป็น 1 ใน 13 ศูนย์ข้อมูลด้านกฎหมายและสถิติด้านต่างๆ ประจำสหภาพยุโรป (Europe Direction Information Point) ที่ตั้งอยู่ในเนเธอร์แลนด์อีกด้วย

 

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

http://kulc.lib.ku.ac.th/uread/index.php?option=com_content&view=article&id=99:12-month-12-title-2570&catid=80:news&Itemid=490

http://www.libraryhub.in.th/2009/09/03/example-cool-design-library-building/

http://www.architectureweekend.com/seattle/highlights/seattle-central-library/

http://www.bestcollegesonline.com/blog/2008/07/02/the-25-most-modern-libraries-in-the-world

http://355285teejutamekhin.blogspot.com/2011/07/library-trend.html

ใส่ความเห็น

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้